ปกติแล้วการต่อ แผงโซล่าเซลล์ ราคา หลายๆแผงเข้าด้วยกันได้นั้น จะต้องรู้ก่อนว่าขนาดของระบบที่เราออกแบบต้องการใช้งานที่แรงดัน และกระแสไฟฟ้า เท่าไหร่ เพื่อให้สอดคล้องกับกำลังไฟฟ้าที่ต้องการจะใช้งาน โดยทั่วไปแล้ว จะใช้ที่แรงดัน 12,24,48 และ 120 โวลท์ เป็นมาตรฐานของ แผงโซล่าเซลล์ แล้วควรติดตั้งระบบโซล่าเซลล์อย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน?

ดังนั้นการต่อ แผงโซล่าเซลล์ จะต้องเลือก เครื่องควบคุมการชาร์จ แบตเตอรี่ และโหลดให้มีความสอดคล้องร่วมกันด้วย การต่อแผงโซล่าเซลล์ หรือการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ มีอยู่สองแบบด้วยกัน คือ
1.) การต่อแบบอนุกรม
คือนำแผงโซล่าเซลล์ด้านขั้วบวกของแผงหนึ่งมาต่อกับขั้วลบอีกแผงหนึ่งไปเรื่อยๆ จนได้แรงดันตามระบบที่ออกแบบไว้ เนื่องจากการต่อแบบอนุกรมจะทำให้แรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแต่กระแสในระบบจะเท่าเดิม

ตัวอย่าง ถ้ามีโซล่าเซลล์แรงดัน 24 โวลท์ กระแส 6 แอปม์ 2 แผง มาต่ออนุกรมกันจะได้แรงดันรวมอยู่ที่ 48 โวลท์และกระแสรวม 6 แอมป์ เท่าเดิม
2.) การต่อแบบขนาน
คือนำแผงโซล่าเซลล์ด้าน ขั้วบวกของแผงหนึ่งมาต่อกับขั้วบวก อีกแผงหนึ่งและขั้วลบก็ต่อกับขั้วลบ ของอีกแผงหนึ่งไปเรื่อยๆ จนได้กระแส ตามระบบที่ออกแบบไว้ เนื่องจากการต่อแบบขนานจะทำให้ กระแสไฟฟ้า เพิ่มขึ้นแต่แรงดันในระบบจะเท่าเดิม

ตัวอย่าง ถ้ามีโซล่าเซลล์ แรงดัน 24 โวลท์ กระแส 6 แอปม์ 2 แผง มาต่อขนานกันจะได้แรงดันรวมอยู่ที่ 24 โวลท์เท่าเดิมและกระแสรวม 12 แอมป์

ถ้าระบบที่เราจะนำ แผงโซล่าเซลล์ไปต่อเป็นแบบแยกเดี่ยวที่ต่อตรงเข้ากับ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์ที่ใช้กระแสตรงเลย เราจะต้องต่อ แผงโซล่าเซลล์ให้มีแรงดันรวมที่ผลิตออกมาจาก แผงมากกว่าแรงดันของ แบตเตอรี่ ประมาณ 1.4-1.5 เท่า โซล่าเซลล์ ถึงจะชาร์จไฟเข้าแบตเตอร์รี่ เช่นแบตเตอรี่มี แรงดันไฟฟ้า 48 โวลท์ จะต้องมีแรงดันจาก แผงโซล่าเซลล์ประมาณ 67.2 – 72 โวลท์
แต่ถ้าระบบที่เราออกแบบเป็นแบบต่อร่วมกับเครื่องควบคุม การชาร์จ ให้เราต่อ แผงโซล่าเซลล์ให้มีแรงดันใกล้เคียง กับสเปคของ ตัวเครื่องควบคุม การชาร์จได้เลย

เมื่อรู้วิธีการต่อ แผงโซล่าเซลล์แล้ว การเลือกแรงดัน ระบบก็ถือเป็นอีกสิ่ง ที่ต้องรู้เพื่อจะทำให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ มี 3 ระบบ ดังนี้
- ระบบออฟกริด : โซล่าเซลล์ที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ประเภทนี้ เหมาะกับสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ห่างไกลชุมชน
- ระบบออนกริด : การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ประเภทนี้ เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า โดยเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับด้วยอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าในส่วนภูมิภาค
- ระบบไฮบริด : การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ประเภทนี้ เป็นระบบที่มีการนำเอาระบบออนกริดและออฟกริดมารวมกัน โดยจะมีแบตเตอรี่สำหรับใช้เป็นพลังงานสำรองในกรณีที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้ในตอนกลางคืนนั่นเอง
สิ่งที่ต้องระวังในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์

การต่อ แผงโซล่าเซลล์แบบอนุกรม ควรระวังอย่าให้มีเงามา ตกกระทบบดบังแสง ที่จะส่งไปยัง แผงโซล่าเซลล์เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพ โดยรวมทั้งหมด ของระบบลดลง หรือถึงขั้นไฟฟ้าไม่สามารถผลิตขึ้นได้ เปรียบเหมือนกับ ท่อน้ำที่ถูกตัด ระหว่างทาง ทำให้ไม่สามารถส่งน้ำ ไปยังปลายทางได้ ทั้งนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดย การต่อบายพาสไดโอดขนานกับแผงหรือการติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์ให้หลีกเลี่ยงเงา ที่จะตกกระทบลงบนแผง

นอกจากนี้ การต่อแผงโซล่าเซลล์ ในระบบเข้าด้วยกัน จะต้องเลือก แผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์โดยรวม ให้มีขนาดเหมาะสมที่ต้องการจะใช้งาน มิฉะนั้นแล้วจะทำให้ อุปกรณ์ระบบเกิด ความเสียหายหรือผลิตไฟฟ้า ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง หรือการซ่อมบำรุง เพิ่มเติมตามมาอีกมากมาย

การออกแบบระบบตาม คู่มือการออกแบบ ติดตั้งและใช้งาน ระบบโซล่าเซลล์ ที่ดีจะสามารถป้องกันปัญหา ที่กล่าวมาและทำให้ เราผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มมากขี้น แต่หากไม่มันใจในการ ติดตั้ง ควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์มาติดตั้งให้

สำหรับสิ่งประดิษฐ์จากปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่เรียกว่า โฟโต้โวตาอิก (photovoltaic) โดยคำว่า โฟโต้(photo) เป็นภาษากรีกแปลว่า แสง ส่วนโวตาอิก (voltaic) หมายถึงแรงดันไฟฟ้า ซึ่งได้มาจากชื่อของอเลสซานโดร โวลตา (Alessandro Volta)
นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี เมื่อเอามารวมกันก็พอตีความได้ว่า ปรากฏการณ์โฟโต้โวลตาอิกคือปรากฏการณ์ที่ทำให้แสงกลายเป็นแรงดันไฟฟ้า ปรากฏการณ์ โฟโต้โวลตาอิกได้รับการค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1839 โดยอเล็กซานเดร เอ็ดมันด์ เบคคีเรล (Alexandre-Edmond Becquerel) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสจึงอาจกล่าวได้ว่า เบคคีเรลคือบิดาของเซลรับแสงอาทิตย์ก็ได้ แต่กว่าที่ชื่อของปรากฏการณ์นี้จะได้รับการรับรองเบคคีเรลต้องรอถึงปี ค.ศ. 1849 เลยทีเดียว
ทว่าจากแนวคิดนั้นกว่าจะคนที่สามารถ ประดิษฐ์เซลรับแสงอาทิตย์ชิ้นแรกของโลกขึ้นมาได้โลกนี้ต้องรอถึงปี ค.ศ. 1883 นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันที่ชื่อ ชาร์ล ฟริตส์ (Charles Fritts) ได้นำแนวคิดนี้มาสร้างเซลรับแสงอาทิตย์ได้สำเร็จโดยใช้สารกึ่งตัวนำ ที่ชื่อเซเรเนียมเคลือบลงบนแผ่นทองคำ แต่ประสิทธิภาพที่ได้มีเพียง 1% เท่านั้น เซลรับแสงอาทิตย์ของฟริตส์จึงยังต้องอยู่ให้ห้องทดลองต่อไป
จากนั้นมีนักประดิษฐ์ และ นักวิทยาศาสตร์อีกหลายต่อหลายคนพยายามต่อยอดแนวคิดและผลงานของเบคคีเรลและฟ ริตส์ ไม่เว้นแม้แต่อัลเบิร์ตไอน์สไตน์ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1954 ทีมงานผู้สามารถจากเบลแลบ (Bell Lab) สหรัฐอเมริกา อันประกอบด้วย เจอรัลด์ แอล เพียร์สัน (Gerald L. Pearson), แดรีล เอ็ม แชปิน (Daryl M. Chapin) และกัลวิน เอส ฟูลเลอร์ (Calvin S. Fuller)ได้ค้นพบการนำลิเธียม-ซิลิกอนเข้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง เซลรับแสงอาทิตย์ ทำให้สามารถสร้างเซลรับแสงอาทิตย์ได้สำเร็จ โดยมีประสิทธิภาพ 6% โดยความสำเร็จในครั้งนั้นได้รับการประกาศให้โลกรู้ด้วย ฝีมือของ นิวยอร์คไทม์ หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกันชนนั่นเอง ต่อมาทีมงานได้จดสิทธิบัตรของผลงานนี้ในปี ค.ศ. 1957 และในปีเดียวกันนั้นเองฮอฟฟ์แมนอิเล็กทรอนิกส์สามารถผลิตเซลรับแสง อาทิตย์ที่มีประสิทธภาพ 8% ได้เป็นผลสำเร็จ และก็เป็นเองฮอฟฟ์แมนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถผลิตเซลรับแสงอาทิตย์ออก จำหน่ายในเชิงพาณิชย์เป็นเจ้าแรกด้วยในปี ค.ศ. 1959 เชื่อว่า ถึงไม่บอกก็คงทราบว่า ราคาของมันในขณะนั้นแพงสุดๆ ครับ
งบประมาณติดตั้งโซล่าเซลล์ ราคา?
มีงบหลักหมื่นก็สามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ ได้ แต่ถ้าจะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็ต้องติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่และแปลงไปเป็นพลังงานไฟฟ้าให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ อาจมีต้นทุนถึงหลักแสนขึ้นไปเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะมีต้นทุนสูงก็ตาม แต่ก็สามารถคืนทุนได้ในระยะยาวแน่นอน
บริการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ / ติดตั้งโซล่าเซลล์ / รับติดตั้งโซล่าเซลล์ในสวน / รับติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน
- ทีมออกแบบ – ช่วยบริการออกแบบระบบโซล่าเซลล์ ร่วมกับทีมวิศวกร
- ทีมงานวิศวกร – บริการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบมืออาชีพ โดยวิศวกรผู้ชำนาญการณ์
- สินค้าที่มีคุณภาพ – สินค้าผ่านมาตรฐานการรับรองจากโรงงาน สินค้าและอุปกรณ์ โซล่าเซลล์ของเรา ครบวงจร เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องอุปกรณ์ขาดหรือต้องรอระยะเวลานาน
- ฝ่ายบริการ – บริการให้คำปรึกษาและการแนะนำในข้อสงสัยที่ลูกค้าต้องการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและตรงตามความต้องการ
ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทีมงาน ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี พร้อมดูแลให้บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม ด้วยสินค้านำเข้าที่มีมาตรฐานการรับรอง ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นและไว้วางใจในสินค้าและการบริการ
วิธีการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ
- ลูกค้าทำการสั่งซื้อผ่าน LOA (Line official Account) : @sunnergy
- โทรติดต่อฝ่ายขาย / และหน้าร้าน ได้ที่ : 061-545-5353
- การจัดส่งสินค้า จัดส่งผ่านขนส่งเอกชน ใช้ระยะเวลา 2 -3 วันทำการ และขึ้นอยู่กับขนาดสินค้า และระยะทางขนส่งปลายทาง และการให้บริการ จะมีทีมเซอร์วิสหลังการขาย คอยแจ้งเลขแทรคกิ้ง และแนะนำสินค้าหลังถึงมือลูกค้า