ประสิทธิภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

ประสิทธิภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

 

” ประสิทธิภาพพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน
ที่มีศักยภาพมหาศาลที่ไม่มีวันหมดเป็นพลังงานที่สะอาดไร้มลพิษ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ที่ทุกพื้นที่ ” 

พลังงานแสงอาทิตย์

 

           พลังงานที่มาจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานที่เกิดจากกระบวนการนิวเคลียร์ที่เรียกว่า นิวเคลียร์ฟิวชั่น ซึ่งกระบวนการเกิดพลังงานบนดวงอาทิตย์เป็นผลจากการรวมตัวของอะตอมไฮโดรเจน เป็นอะตอมฮีเลียมและจะมีมวลอะตอมไฮโดรเจนส่วนหนึ่ง เปลี่ยนรูปพลังงานเป็นพลังงานคลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจะถูกส่งออกรอบๆดวงอาทิตย์ โดยพลังงานที่ดวงอาทิตย์สร้างขึ้นมามีค่าประมาณ 3.8×10 กิโลวัตต์  แต่เนื่องจากโลกและดวงอาทิตย์ของเราห่างกันถึง 93 ล้านไมล์ ทำให้พลังงานที่ส่งจากดวงอาทิตย์ลดลงเหลือเพียง 1.8×10 กิโลวัตต์
เมื่อถูกดูดซับจากชั้นบรรยากาศจะตกลงบนพื้นโลกประมาณ 1.25×10 กิโลวัตต์ หรือมีค่าประมาณ 961-1191 วัตต์ต่อตารางเมตร   คิดเป็นพลังงานประมาณ 2000-2500 กิโลวัตต์ชั่วโมง    ต่อตารางเมตรต่อปี โดยปริมาณความร้อนที่ดวงอาทิตย์ถ่ายเทลงมาสู่โลกทั้งหมดนั้นกว่า 31.8%    ได้ถูกสะท้อนกลับลักษณะคลื่นสั้นสู่ชั้นบรรยากาศ และมีเพียง 68.2% ที่โลกสามารถรับความร้อนได้     ซึ่งโลกของเราได้นำพลังงานที่รับมานี้ ไปก่อให้เกิดความร้อนในโลกรวม 43.5%  ซึ่งนำพลังงานความร้อนนี้ไปก่อให้เกิดการระเหยน้ำ และของเหลว รวมถึงการเกิดฝนตกต่างๆ รวม 22.7%  นำพลังงานนี้ไปก่อให้เกิดคลื่นและลมต่างๆบนโลกอีก 1.9% และ ที่เหลืออีก0.1%เป็นพลังงานที่ใช้ไปกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก รวมทั้ง คน สัตว์ และการเจริญเติบโตของพืช และหากเทียบกับการใช้พลังงานในโลกพบว่า  พลังงานแสงอาทิตย์ ตกกระทบบนผิวโลก 1 เดือนหากมนุษย์สามารถใช้ประโชน์ได้ทั้งหมดจะสามารถทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงถ่านหินได้ 8ล้านล้านตัน

แผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์

ซึ่งเป็นปริมาณถ่านที่มีเหลืออยู่โลกทั้งหมด กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ได้ศึกษาศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์และจัดทำข้อมูลแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์  จากข้อมูลดาวเทียมของประเทศไทย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมประกอบกับข้อมูล ที่ได้ตรวจภาคพื้นดินในประเทศไทย พบว่าการกระจายความเข้มรังสี ดวงอาทิตย์ตามบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละเดือนของประเทศไทยได้รับอิทธิพลสำคัญจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยได้รับรังสีของ   ดวงอาทิตย์สูงสุดระหว่างเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม โดยมีค่าอยู่ในช่วง 20 ถึง 23MJ/m-day และเมื่อพิจารณาแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปีพบว่าบริเวณที่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงสุดเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือครอบคลุมบาง ส่วนของจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์   ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี อุดรธานี และบางส่วนของภาคกลาง จังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท อยุธยา ลพบุรี โดยได้รับรังสีดวงอาทิตย์เฉลี่ย 19-20 MJ/m2-day

 

 

 

 

 


แผนโซล่าเซลล์

พื้นที่ดังกล่าวคิดเป็น 11.0%  ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่า 35.6% ของพื้นที่ทั้งหมดได้รับรังสีดวงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปีในช่วง18-19 MJ/m2-day จากการคำนวณรังสีรวมของดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปีของพื้นทั่วประเทศ พบว่ามีค่า 18 MJ/m2-day จากผลที่ได้นี้แสดงถึงประเทศไทยมีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง และได้จัดทำเป็นแผนที่ เรียกแผนที่ดังกล่าวว่า “แผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ประเทศไทย”  ในแผนที่จะแสดงถึงความเข้มรังสีของ ดวงอาทิตย์ที่บริเวณต่างๆได้รับรูปค่าเฉลี่ยรายวันของประเทศไทยมีหน่วยเป็น MJ/m2-day และภายหลังได้นำผลวิเคราะห์ความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์จากภาพถ่ายดาวเทียมไปตรวจสอบกับสถานีวัดความเข้มรังสี ดวงอาทิตย์ของ พพ. ที่ได้จัดตั้งไว้ 38 แห่งและ สถานีวัดของมหาลัยศิลปากร 4 แห่ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น