ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm)



เทคโนโลยีในปัจจุบันที่ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ถูกพัฒนาจนสามารถทำให้ต้นทุนลดต่ำลงมาก ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งที่มีพื้นที่เปิดกว้าง มีการรองรับแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้นได้ในเวลานานและปริมาณมาก แต่ไม่ใช่ว่าทุกที่จะผลิตหรือสามารถสร้างพลังงานทดแทนชนิดนี้ได้อย่างเต็มกำลัง จำเป็นจะต้องมีปัจจัยต่างๆ และอยู่ในการควบคุมดูแล พัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่องด้วย

ฟาร์มโซล่าเซลล์  (Solar Farm)

ฟาร์มโซล่าเซลล์

ในฟาร์มโซล่าเซลล์ จะมีแผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะติดตั้งบนพื้นที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมกว่า 100 ไร่  ซึ่งทำหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมาตกกระทบที่ตัวแผงให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง แล้วส่งผ่านไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าหรืออินเวอร์เตอร์ ซึ่งจะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ที่สามารถนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ภายในบ้านพักอาศัย สถานประกอบการ หรือโรงงานทั่วไป รวมถึงสามารถใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนให้กับรถยนต์ได้อีกด้วย

พลังงานจากแสงอาทิตย์สามารถนำไปเป็นพลังงานทดแทนและใช้ประโยชน์ได้ในหลายๆ ด้าน ดังนี้

1.     ระบบโซล่าเซลล์ที่เป็นเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แก่ ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ

เซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ

PV Stand-alone system

เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ของระบบโซล่าเซลล์ประเภทนี้จะประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ อินเวอร์เตอร์ และแบตเตอรี่ (อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบอิสระ)

เซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย

PV Grid connected system

เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าที่มีการออกแบบไว้ผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าโดยตรง ใช้ผลิตไฟฟ้าในเขตเมือง หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง อุปกรณ์ของระบบโซล่าเซลล์ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า

เซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน

PV Hybrid system

เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟฟ้า ถูกออกแบบมาสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตามวัตถุประสงค์โครงการเป็นกรณีเฉพาะ

2.นอกจากนี้เทคโนโลยีจากพลังงานแสงอาทิตย์ยังสามารถนำไปผลิตความร้อน ได้แก่ การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด

การผลิตน้ำร้อนชนิดใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียนเหมาะสำหรับการใช้ผลิตน้ำร้อนจำนวนมาก และมีการใช้อย่างต่อเนื่อง การผลิตน้ำร้อนชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ เป็นการผลิตน้ำร้อนชนิดที่มีถังเก็บอยู่สูงกว่าแผงโซล่าเซลล์ที่รับแสงอาทิตย์ ใช้หลักการหมุนเวียนตามธรรมชาติ การผลิตน้ำร้อนชนิดผสมผสาน

เป็นการนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์มาผสมผสานกับความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของเครื่องทำความเย็น หรือเครื่องปรับอากาศ โดยผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน

การอบแห้งด้วยพลังแสงอาทิตย์

การอบแห้งด้วยพลังแสงอาทิตย์ ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งาน 3 ลักษณะ คือ

การอบแห้งระบบ Passive เป็นระบบที่เครื่องอบแห้งทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมที่พัดผ่าน

การอบแห้งระบบ Active เป็นระบบอบแห้งที่มีเครื่องช่วยให้อากาศไหลเวียนในทิศทางที่ต้องการ เช่น มีพัดลมติดตั้งในระบบเพื่อบังคับให้มีการไหลของอากาศผ่านระบบ

การอบแห้งระบบ Hybrid เป็นระบบอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และยังต้องอาศัยพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ช่วยในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ไม่สม่ำเสมอ หรือต้องการให้ผลิตผลทางการเกษตรแห้งเร็วขึ้น

1 thought on “ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm)”

  1. โสรัช ไชยวุฒิ พูดว่า:

    น่าสนใจมากครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น