วิธีบำรุงรักษาแบตเตอรี่
ก่อนอื่นเราควรมารู้จักกับประเภทของแบตเตอร์รี่กันก่อน โดยทั่วไป แบตเตอรี่จะแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ด้วยกัน ได้แก่
- แบตเตอรี่ที่ทำการชาร์จจนเต็มมาจากโรงงาน
เช่นแบตเตอรี่นาฬิกา(ถ่านนาฬิกา), แบตเตอรี่ไฟฉาย(ถ่านไฟฉาย)เป็นต้น ซึ่งเมื่อใช้ไฟในแบตเตอรี่จนหมดแล้วก็หมดเลยไม่สามารถกลับนำมาใช้ใหม่ได้ เราเรียกแบตเตอรี่นี้ว่า แบตเตอรี่ปฐมภูมิ(Primary Battery)
- แบตเตอรี่ที่ทำการชาร์จใหม่ได้
เมื่อแบตเตอรี่มีไฟที่อ่อนลง เช่นแบตเตอรี่รถยนต์ เราเรียกแบตเตอรี่นี้ว่า แบตเตอรี่ทุติยภูมิ(Secondary Battery)
ในระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์นั้นจะใช้แบตเตอรี่แบบทุติยภูมิซึ่งสามารถชาร์จได้ใหม่เมื่อแบตเตอรี่มีกำลังไฟที่อ่อนลง ในระบบแบตเตอรี่จะทำงานเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์เข้ามาไว้ แล้วปล่อยกำลังไฟฟ้าออกไปให้กับโหลดในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เช่นในช่วงเวลากลางคืนหรือเมฆครึ้มตลอดวัน
ส่วนประกอบของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานจากปฏิกิริยาทางเคมี เป็นพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย
? เปลือกหม้อที่ผลิตจากวัสดุที่บอบบาง
? แผ่นธาตุประกอบด้วยแผ่นตะกั่วบริสุทธิ์ และแผ่นตะกั่วอ๊อกไซด์ มีแผ่นฉนวนกั้นระหว่างแผ่นธาตุ
? น้ำยา หรือ Electrolite ซึ่งเป็นส่วนผสมของน้ำกรดกำมะถันกับน้ำกลั่น ให้ได้ความถ่วงจำเพาะตามที่ต้องการประมาณ 1,250
สรุปแล้วแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่บอบบางแต่ราคาแพง หากไม่ได้รับการเอาใจใส่หรือบำรุงรักษาให้ถูกวิธี ก็จะทำให้อายุการใช้งานสั้น ไม่คุ้มค่า เนื่องจากชำรุดเสียหายได้ง่ายจากการกระทบกระแทกของแข็ง หรือใช้งานผิดวิธี
ข้อควรระวัง
1. เวลาใส่ขั้วแบตเตอรี่อย่าใช้โลหะหรือของแข็งตอกอัดขั้วลงไป
เพราะจะทำให้ขั้วแบตเตอรี่ชำรุดและแผ่นธาตุภายในหลุดร่วงเกิดการลัดวงจรในช่องของแบตเตอรี่ ควรใช้มือกดหมุนลไปเท่านั้นถ้าขั้วสายเล็กกว่าให้ใช้ไขควงถ่างรอยผ่าเสียก่อน แล้วขันน๊อตให้แน่นพอสมควรเสร็จแล้วใช้จาระบีทาบาง ๆเพื่อป้องกันซัลเฟสเกาะที่ขั้วแบตเตอรี่
2. เวลาถอดขั้วสายออกจากแบตเตอรี่ห้ามใช้ไขควงหรือของแข็งงัดออก
จะทำให้ฝาแบตเตอรี่ชำรุดเสียหายได้ต้องกระทำโดยวิธีคลายสกรูออกให้หลวมเสียก่อน แล้วใช้ไขควงกดปิดรอยแตกแยกให้ถ่างออกแล้วใช้มือหมุนออกเช่นเดียวกับข้อ 1
3. ให้เปิดฝาตรวจดูระดับน้ำยาที่อยู่ในช่องแบตเตอรี่แต่ละช่อง
ถ้าระดับน้ำยาลดลงให้เติมเฉพาะน้ำกลั่นเท่านั้นและควรสูงท่วมแผ่นธาตุประมาณ 1 ซม.
4. อย่าปล่อยแบตเตอรี่ไว้โดยไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานเป็นอันขาด
ต้องนำมาชาร์ตไฟอย่างน้อย 15 วันต่อครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที
5. ไม่ควรชาร์ทแบตเตอรี่ด้วยกระแสไฟที่สูงเกินไป
จะทำให้แผ่นธาตุทำปฏิกิริรยากับน้ำยาอย่างรวดเร็วเกิดความร้อนสูง ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลดลงกว่ากำหนด
6. หมุนฝาปิดน้ำยาให้แน่นและรูระบายอากาศต้องไม่อุดตัน
เพื่อระบายแก๊สขณะแผ่นธาตุทำปฏิกิริยากับน้ำยาในแบตเตอรี่จะเกิดความร้อนและแก๊สขยายตัวอาจทำให้แบตเตอรี่บวมหรือระเบิดได้
7. หมั่นเช็คทำความสะอาดฝาแบตเตอรี่
อย่าให้มีสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่น น้ำมัน และความชื้น เป็นต้น หรือใช้น้ำอุ่นล้างถ้ามีซัลเฟสเกาะที่ขั้วสาย
8. อย่าวางเครื่องที่เป็นโลหะบนหม้อแบตเตอรี่
จะทำให้เกิดการลัดวงจรขั้วแบตเตอรี่จะชำรุดเสียหายได้
9. การติดตั้งแบตเตอรี่ต้องติดตั้งกับแท่นยึดที่แข็งแรงและแน่น
ไม่สั่นสะเทือนมากในขณะปฏิบัติงานสะดวกต่อการบริการไกลจากความชื้น และอุณหภูมิไม่สูงเกินไป
10. ในการเคลื่อนย้ายแบตเตอรี่ให้ใช้วิธียก
อย่าลากหรือดึงหรือปล่อยลงกระแทกพื้นแรงๆเพราะอาจจะทำให้เปลือกหม้อแบตเตอรี่ทะลุได้
11. แบตเตอรี่ใหม่หลังจากเติมน้ำยาแล้วจะเกิดกระแสไปขึ้นเอง
ทางด้านเทคนิคห้ามไม่ให้นำไปใช้งานเพราะจะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นหรือเสื่อมสภาพเร็วผิดปกติจะต้องนำไปชาร์ทไฟเสียก่อนด้วยกระแสไฟอัตราไม่เกิน 2–3 แอมแปร์ ประมาณ 72 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปใช้งานก็จะทำให้ได้แบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
12. แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานและมีประสิทธิภาพดีที่สุด
แบตเตอรี่นั้นจะต้องได้รับการประจุหรือชาร์ทไฟเต็ม (Full charge) อยู่ตลอดเวลา
13. แบตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานระหว่าง 6 เดือน ถึง 2 ปี
ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้และบำรุงรักษาที่ถูกวิธี ถ้าบำรุงรักษาไม่ถูกวิธีจะมีอายุการใช้งานต่ำกว่า 6 เดือน หรือถ้าใช้และบำรุงรักษาให้ถูกวิธีอายุการใช้งานจะได้ไม่น้อยกว่า 2 ปี จะเห็นได้ว่าการใช้และบำรุงรักษาแบตเตอรี่ให้ถูกวิธี อายุการใช้งานจะต่างกันหลายเท่าตัว
บริษัท Sunnergy technology จำหน่าย แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ ราคาถูก