ทำไมถึงประหยัดไฟกว่าหลอดชนิดอื่น
หลักการทำงานของ LED ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าในการจุดไส้หลอด ภายใน LED จะมีชิ้นส่วนเล็กๆ ซึ่งเมื่อกระแสไหลผ่าน จะมีการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนของสารกึ่งตัวนำทำให้เกิดแสงสว่าง LED จึงใช้กระแสไฟต่ำกว่าในการให้แหล่งกำเนิดแสงสว่างและความร้อนที่เกิดขึ้นก็ต่ำด้วย ข้อดีนี้เองทำให้เมื่อนำไปติดภายในตู้เย็นหรือภายในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศก็จะช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงประหยัดไฟมากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิไม่สูงเท่าหลอดไฟทั่วไป
LED ที่เหมาะกับขนาดของห้อง
การเลือกหลอดไฟ LED ตามความสว่างและจำนวนของหลอดให้เหมาะสมกับพื้นที่ของห้องแต่ละห้องนั้น มีประโยชน์อย่างมากในการประหยัดงบประมาณและได้แสงที่เพียงพอตามความต้องการ นำมาสู่บรรยากาศที่น่าอยู่และสบายตาภายในบ้าน ต่อไปนี้ผมจะขอแนะนำการติดตั้งหลอดไฟ LED ในห้องต่างๆ โดยบอกถึงปริมาณวัตถ์ จำนวนหลอด และขนาดห้องที่ใช้ครับ
ห้องครัวขนาดห้อง 15 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 5 w 10 หลอด
ห้องครัวขนาดห้อง 20 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 7 w 8 หลอด
ห้องครัวขนาดห้อง 25 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 10 w 8 หลอด
ห้องทำงานขนาดห้อง 15 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 5 w 10 หลอด
ห้องทำงานขนาดห้อง 20 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 7 w 8 หลอด
ห้องทำงานขนาดห้อง 25 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 10 w 8 หลอด
3.ห้องนอน
ห้องนอนขนาดห้อง 15 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 5 w 4 หลอด
ห้องนอนขนาดห้อง 20 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 7 w 2 หลอด
ห้องนอนขนาดห้อง 25 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 10 w 2 หลอด
ห้องน้ำ,ห้องนั่งเล่นขนาดห้อง 15 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 5 w 8 หลอด
ห้องน้ำ,ห้องนั่งเล่นขนาดห้อง 20 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 7 w 6 หลอด
ห้องน้ำ,ห้องนั่งเล่นขนาดห้อง 25 ตร.ม. ใช้หลอดไฟ LED 10 w 6 หลอด
การเติบโตของการใช้ LED
ผลการสำรวจจากสถาบันวิจัยข้อมูลด้านการตลาด ( IMS Research ) พบว่าตั้งแต่ปี 2552 – 2563 การขยายตัวของตลาดหลอดไฟฟ้าแสงสว่างมีอัตราการขยายตัวและลดลงของมูลค่าตลาดหลอดไฟฟ้าทั้ง 5 ชนิด ตั้งแต่ หลอดไส้, หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ), หลอดฟลูออเรสเซนต์ , หลอดความเข้มสูง (HID : High Intesity Discharge) และหลอด LED
การเติบโตที่น่าสนใจของหลอด LED มีแรงผลักดันจากคุณสมบัติและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของหลอด LED สามารถนำมาออกแบบได้ เมื่อเปรียบเทียบผลการประหยัดค่าไฟฟ้ากับราคาค่าหลอด LED และอายุการใช้งานที่ยืนยาวแล้ว ถือได้ว่าหลอด LED มีความคุ้มค่าในการใช้งานในอนาคต คาดว่าอีก 5 ปี ประมาณปี 2558-2559 จะมียอดการใช้การเติบโตสูงสุด และยังมีข้อมูลสนับสนุนจาก “Mckinsey” สถาบันที่การศึกษาเรื่องมาตรการการบรรเทาภาวะโลกร้อนทั่วโลก ว่าหลอด LED มีต้นทุนต่ำสุดในมาตรการลดโลกร้อน